วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร


พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน
พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานเดิมเรียก “ทุ่งส้มป่อย” เป็นสถานที่ทรงงานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานนามพระตำหนักว่า “สวนจิตรลดารโหฐาน” ต่อมารัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้รวมสวนจิตรลดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต
ปัจจุบันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ



วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออกของพระบรมหาราชวัง ภายในไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นการสร้างวัดในพระราชวังตามอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุทธยา


วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
พระปรางค์วัดอรุณฯ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่รู้จักกันทั่วโลก จากแผนที่เมืองธนบุรีซึ่งชาวฝรั่งเศสทำไว้ในรัชสมันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บ่งบอกว่า วัดแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา


พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะสมัยฟื้นฟู ( Renaissance ) ออกแบบโดยนายเอ็ม. ตมานโย ( M. Tamango ) สถาปนิกชาวอิตาลี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือราชพิธี
เรือพระราชพิธีหมายถึง เรือสำหรับใช้ประกอบพิธีทางชลมารคที่เรียกว่า “ กระบวนพยุหยาตราชลมารค” ถือเป็นพระราชประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็คือการจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง



วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
ในบรรดาพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหารนั้นได้ถือว่าวัดแห่งนี้เป็น อันดับ 1 เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมหาราชวัง ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุทธยาชื่อ "วัดโพธิ์ธาราม" แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า "วัดโพธิ์" มาจนทุกวันนี้


วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
บริเวณที่ตั่งของวัดนั้นอยู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นหนึ่งในหกพระอารามสำคัญที่สุดของไทย การสร้งเป็นไปตามตำรับมหาพิชัยสงคราม โดยรัชกาลที่ 1 ทรางมีพระราชประสงค์ให้เป็นวัดศูนย์กลางของกรุงเทพฯ เริ่มสร้างในปี 2350 ทรงพระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส" แต่คนนิยมเรียก "วัดพระโตบ้าง วัดพระใหญ่หรือวัดเสาชิงช้า"

ป้อมพระสุเมรุ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ตามกำแพงพระนครชั้นนอกรายล้อมแนวคลองรอบกรุงไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยแรกสร้างมี 14 ป้อมค้อ จ้กรเพชร ผีเสื้อ พระจันทร์ พระอาทิตย์ พระสุเมรุ มหากาฬ มหาชัย มหาปราบ มหายักษ์ มหาฤกษ์ ยุคนธร วิสันธร เสือทยานและหมูทะลวง ภายหลังป้อมต่าง ๆ ทรุดโทรมลงจึงรื้อทิ้งเกือบหมด คงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ

เสาชิงช้า
แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายซึ่งถือเป็นหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือนมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุทธยาเป็นราชธานี จะทำกันในเดือนอ้าย(ธ.ค.) ครั้นเมื่อถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (ม.ค.)

พระบรมมหาราชวัง
เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในปี 2325 ทรงให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระบรมหาราชวังเป็นศูนย์กลางสำหรับพระนครใหม่